สัพเพเหระในอเมริกา

วัฒนธรรมอเมริกัน และวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมอเมริกัน และวัฒนธรรมไทย“เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม” เป็นสำนวนที่ใช้สอนถึงการวางตัวในต่างบ้านต่างเมือง คำสอนนี้ไม่ได้มีใช้แต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในต่างประเทศก็มีคำสอนในทำนองเดียวกันนี้ค่ะ คนที่เรียนในสาขาวิชาที่เกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะต้องรู้ดีค่ะ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะถ้าจะไปอยู่เป็นเวลานานๆแล้ว ก็ควรจะเรียนรู้และเข้าใจพื้นฐานวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆก่อน


วัฒนธรรมอเมริกัน และวัฒนธรรมไทยถ้าจะเรียนรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรมอเมริกัน หรือประเทศหนึ่งประเทศใด ก็คงต้องพูดกันยาวมาก เพราะวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและกินความลึกไปถึงหลายอย่าง คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า วัฒนธรรมหมายถึงเรื่องอาหาร เสื้อผ้า และภาษาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ววัฒนธรรมรวมไปถึงความเชื่อ แนวความคิด ค่านิยม มาตรฐานและวิถีชีวิต ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และอื่นๆที่จะเป็นปัจจัยกำหนด ความคิดและพฤติกรรมของคนในชุมชนนั้นๆ

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นจะขอแนะนำวัฒนธรรมอเมริกันในแง่ของความคิดพื้นฐานของชาวอเมริกันก่อน ส่วนในแง่มุมอื่นนั้นก็จะนำมาบอกในโอกาสหน้านะคะ

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ประชาชนและผู้ที่อยู่อาศัยมีสิทธิเสรีภาพ คำพูดนี้ได้สั่งสมมาใน แนวความคิดและความเชื่อของชาวอเมริกันมาตั้งแต่อดีต โดยเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ค.ศ. ๑๗๘๗ ว่าประชาชนมีสิทธิในการพูด การนับถือศาสนา การประกอบอาชีพ และอื่นๆ

วัฒนธรรมอเมริกัน และวัฒนธรรมไทยต่อมาก็มีสงครามกลางเมือง (Civil War) ซึ่งก็เป็นสงครามที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิทธิและเสรีภาพ รวมถึงการเลิกระบบทาส ซึ่งก็เป็นต้นแบบแนวพระราชดำริในการเลิกทาสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ของเราด้วย เรื่องของสิทธิเสรีภาพของชาวอเมริกันยังมีอีกหลายอย่างหลายเรื่อง ซึ่งมีให้เห็นเรื่อยมาจนปัจจุบัน

ชาวอเมริกันในปัจจุบันจะเคารพและยึดถือสิทธิส่วนบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ แม้แต่ในครอบครัวพ่อแม่ก็จะให้สิทธิ์และเคารพในสิทธิของลูกๆในระดับหนึ่งค่ะ บางครั้งคนไทยที่อยู่ที่นี่ก็อาจจะรู้สึกขัดใจ เพราะพ่อแม่ชาวอเมริกันเลี้ยงลูกแตกต่างจากที่บ้านเรา

วัฒนธรรมอเมริกัน และวัฒนธรรมไทยอย่างบ้านเราพ่อแม่ก็จะคอยจ้ำจี้จ้ำใชบอกให้ลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ก็เพราะความรัก ความห่วง และความหวังดี เพราะอาบน้ำร้อนมาก่อน ที่นี่พ่อแม่ก็บอกว่าลูกๆเลือกเองได้ว่าจะทำอะไร จะเรียนอะไร บางครั้งเห็นเด็กบางคนก็ลองผิดลองถูกค่ะ  กว่าจะพบคำตอบก็ลองกันหลายอย่าง พ่อแม่ของพวกเขาก็บอกว่านี่คือชีวิตต้องเรียนรู้เอง เราก็คิดว่าถ้าบอกหรือสอนเสียตั้งแต่แรก เด็กๆเค้าคงไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้จากประสบการณ์ แต่ได้ฟังคำอธิบายจากพ่อแม่มันจะง่ายกว่ามาก

มีอีกตัวอย่างจะเล่าให้ฟังจากประสบการณ์ส่วนตัวค่ะ  คือได้มีโอกาสผันตัวเองมาเป็น อาจารย์ผู้ฝึกสอนทหารค่ะ เราก็ถือหลักครูไทยในการสอนและดูแลนักเรียนทหารของเราค่ะ อย่างในบ้านเราคนไทยนับถือครูอาจารย์เป็นเหมือนพ่อแม่คนที่สองจะว่ากล่าวตักเตือนอะไรก็ได้ใช่ไหมคะ  เมื่อมีทหารในชั้นเรียนคนหนึ่งเรียนช้า เราก็ต้องถามไถ่กันหน่อยว่าเขาเรียนอย่างไร ทบทวนบทเรียนไหม  แบ่งเวลาเรียนอย่างไร

ทหารคนนั้นก็ไม่ตอบคำถามของเรานะคะ แต่กลับบอกว่าเป็นครูฝึกมีหน้าที่ฝึกสอนในชั้นเรียน  การที่มาถามเรื่องเกี่ยวกับการใช้เวลาส่วนตัวอย่างนี้ ผู้ฝึกสอนไม่มีสิทธิมาถาม  ตอนนั้นได้ยินก็ไม่ได้โกรธอะไรแต่ก็มาถึงบางอ้อค่ะว่า ชาวอเมริกันเขาคิดอย่างนี้ ถูกเลี้ยงมาอย่างนี้ จะโกรธเขาไม่ได้

วัฒนธรรมอเมริกัน และวัฒนธรรมไทย


เมื่อโกรธไม่ได้ก็ต้องเข้าใจเขาและหาวิธีแก้ปัญหาค่ะ  ตอนนั้นก็ต้องอธิบายกลับไปค่ะว่า ผู้ฝึกสอนก็มีสิทธิที่จะถามเพราะการเรียนช้าของเขามีผลกระทบด้านลบกับทั้งชั้นเรียน ซึ่งก็เป็นการละเมิดสิทธิของคนอื่นปกติในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยจะมีหน่วยงานหรือ Web page ที่ช่วยนักศึกษาจัดเวลาระหว่างการเรียนและชีวิตส่วนตัว
แต่เมื่อทางศูนย์ฝึกของกองทัพ ไม่มีหน่วยงานนี้ ไม่มีข้อมูลนี้ไว้ช่วยทหาร ครูผู้ฝึกสอนมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ที่จะถามและแนะนำวิธีเรียนที่ถูกต้อง ที่มีประสิทธิภาพวัฒนธรรมอเมริกัน และวัฒนธรรมไทยพอมาถึงตรงนี้นายทหารคนนั้นก็เข้าใจ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับเราค่ะ 
แต่วันนั้นถ้าทหารคนนั้นยังยืนยัน ว่าเราไปก้าวก่ายสิทธิส่วนตัวของเขามากเกินไป  เราก็ต้องหยุดและถอยออกมาค่ะ  ถึงแม้ว่าเราจะรู้ว่าทหารคนนั้นอาจจะถูกปลดออกจากหลักสูตร เพราะการที่เรียนผิดวิธีและเพราะเราไม่ช่วย ทั้งๆที่เราสามารถช่วยได้ก็ต้องปล่อยค่ะ
เพราะนั่นเป็นทางเลือกของเขา เป็นสิทธิ์ของเขาค่ะนี่เป็นตัวอย่างง่ายๆที่เห็นได้ชัดเกี่ยวกับการถือสิทธิส่วนตัวของชาวอเมริกัน  เรื่องแบบนี้เกิดได้ตลอดเวลาทั้งกับเราหรือกับเขา  การเคารพสิทธิส่วนบุคคลนั้นยังแสดงออกมาได้ ในแง่ของการพูดจาด้วยซึ่งส่วนใหญ่การพูดจาของชาวอเมริกันนั้นก็จะตรงไปตรงมา ถ้าเขาหิวเขาก็จะบอกว่าหิวจะไปกินก่อนวัฒนธรรมอเมริกัน และวัฒนธรรมไทยตรงกันข้ามกับคนไทย  ซึ่งบางครั้งแทนที่จะบอกว่าหิว กลับไปถามเขาว่าหิวไหมไปหาอะไรทานกันไหม 
ฝรั่งบางคนก็อาจจะพูดว่าไม่ไปไม่หิว  บอกกันแบบขวานผ่าซากอย่างนี้ก็มีค่ะ  เหมือนอย่างบางครั้งถามคุณสามีค่ะว่าเราจะกินอะไรดี คุณสามีก็บอกว่าก็เลือกเอาเองสิ  คุณเป็นคนกินไม่ใช่ผม แหม! มันก็ให้มีน้ำโหค่ะว่าทำไมเย็นชา  แต่เขาก็มาขอโทษค่ะที่ตอบคำถามเราแบบอเมริกัน  ตรงนี้ก็ต้องเข้าใจกันค่ะ
คนไทยมาอยู่ที่นี่ต้องเข้าใจความแตกต่างของวัฒนธรรม  ถ้าเพื่อนชาวอเมริกันไม่ช่วย ออกความเห็นหรือแนะนำอะไร ก็เป็นเพราะเขาอยากให้สิทธิเราตัดสินใจเองและเคารพสิทธิของเรา ไม่ใช่ว่าเขาเป็นเพื่อนไม่ดี  ในทางกลับกันเราก็จะไปบงการเขาก็ไม่ดีค่ะ  แต่ชาวอเมริกันบางคนก็อาจจะยอมรับได้ ตรงนี้ก็ต้องแยกแยะตามนิสัยของแต่ละคนด้วย

 

วัฒนธรรมอเมริกัน และวัฒนธรรมไทยถึงแม้ว่า วัฒนธรรมอเมริกัน และวัฒนธรรมไทยจะแตกต่างกัน  ก็ไม่ได้หมายความว่า ชาวอเมริกันจะคบยากเข้าใจยากนะคะ  ตรงกันข้ามถ้าเราเข้าใจในวัฒนธรรม และแนวความคิดของพวกเขา  ได้มีโอกาสติดต่อสื่อสารกับพวกเขาก็จะเห็นว่า ชาวอเมริกันนั้นจริงๆแล้วเข้าใจง่าย มีมนุษยสัมพันธ์ และยอมรับวัฒนธรรมอื่นๆ มากกว่าอีกหลายๆชาติด้วยซ้ำ

นี่ก็เพราะว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีชาวต่างด้าวเข้ามาอยู่มาก หลายเชื้อชาติหลายภาษา จึงทำให้ประเทศนี้กลายเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน  คนที่นี่จึงเข้าใจและยอมรับวัฒนธรรมใหม่ๆ  ซึ่งก็เป็นการง่ายสำหรับคนที่เข้ามาอยู่ใหม่นั่นเองค่ะ

 

Author: Supakon, Intercultural Consulting and Services LLC


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *