สัพเพเหระในอเมริกา

โรงเรียนในอเมริกา VS โรงเรียนไทย

โรงเรียนในอเมริกา VS โรงเรียนไทยค่านิยมของคนไทยส่วนใหญ่มองว่าการได้มาเรียนเมืองเมืองนานั้น นอกจากจะมีหน้ามีตาแล้วหลายๆคนยังคิดว่าระบบการศึกษาของที่นี่ดีกว่าของที่เมืองไทย แต่จากประสบการณ์ของตัวเองที่เคยเป็นนักศึกษา และต่อมาเป็นผู้ฝึกสอน จนกระทั่งมาเป็นแม่คนแล้ว ระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาที่ทั้งส่วนดีและส่วนเสียในตัวเองค่ะ  ถ้าจะให้อธิบายตัวเนื้อหาวิชาในโรงเรียนของแต่ละระดับชั้นไปจนถึงมหาวิทยาลัยเพื่อมาเปรียบเทียบกับของในบ้านเราแล้ว คงจะต้องพูดกันไปไม่รู้จักจบ เพราะฉะนั้นจะขอพูดเฉพาะหลักการหรือรูปแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไปให้เข้าใจกันก่อนค่ะ

รูปแบบการเรียนการสอนของ โรงเรียนในอเมริกา จะเป็นแบบของการให้นักเรียนป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Student Center” ค่ะ  รูปแบบนี้จะสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้และตอบคำถามต่างๆด้วยตัวเอง  ครูผู้ฝึกสอนจะมีหน้าที่ช่วยนำล่องให้ห่างๆโดยที่จะไม่มายืนสอนปาวๆอยู่หน้าชั้นเรียนตั้งแต่ต้นจนจบชั่วโมงค่ะStudent Center 

 บางคนที่ไม่เคยชินอาจจะตั้งข้อแม้มาแย้งว่าถ้าต้องมาเรียนรู้กันเองแล้วจะมีครูไว้ทำไมใช่ไหมค่ะ  จริงๆแล้วครูที่นี่จะทำงานหนักมากในการเตรียมและวางแผนการสอนค่ะ  ส่วนเวลาในห้องเรียนกับนักเรียนนั้นจะไม่หนักหนามากนักถ้ามีการวางแผนมาดี มีแบบฝึกหัดและกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกได้ทดลองเพื่อการเรียนรู้ อย่างนี้ก็จะไม่เหนื่อยมากนักค่ะ ต่อไปลองลงไปดูรายละเอียดนะคะว่ารูปแบบการวางแผนการสอนแบบนี้จะเป็นอย่างไร

ในการวางแผนการสอนแบบให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนนั้น แผนการสอนจะแบ่งออกเป็นส่วนๆค่ะ เริ่มจากสิ่งที่สำคัญที่สุดในแผนการสอนก็คือวัตถุประสงค์ค่ะ  เพราะวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดว่าหลังจากเรียนชั่วโมงนี้เสร็จแล้วนักเรียนควรจะสามารถทำอะไรได้บ้าง  ขั้นต่อไปคุณครูก็ต้องเตรียมเนื้อหาว่านักเรียนจะต้องรู้เกี่ยวกับอะไรบ้างถึงจะสามารถทำได้อย่างที่วัตถุประสงค์สั่งไว้  เมื่อได้เนื้อหาแล้วเขาก็จะมานั่งคิดว่าจะให้นักเรียนได้รับความรู้แบบไหน  ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าต้องไม่ใช่การมายืนบอก  แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการให้ทำกิจกรรมหรืองานกลุ่มหรืออะไรก็ได้ที่เหมาะกับวัยของนักเรียน แต่นักเรียนจะคิดเองหาคำตอบเอง ซึ่งถ้าผิดก็เรียนจากความผิดพลาดค่ะ 

หลังจากนักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาแล้วก็จะครูก็จะให้นักเรียนแสดงความรู้ที่ได้เรียนเพื่อเป็นการเช็คค่ะว่านักเรียนได้รับความรู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่  ถ้าผลงานออกมาดีก็วางแผนเดินหน้าต่อไป แต่ถ้านักเรียนทำตามวัตถุประสงค์ไม่ได้ ก็ต้องวางแผนว่าจะทำการสอนซ้ำอย่างไรค่ะ

อธิบายมายืดยาวก็คงจะสู้ดูตัวอย่างจริงกันดีกว่านะคะ  เอาตัวอย่างง่ายๆจากการเรียนการสอนที่โรงเรียนโรงเรียนในอเมริกา ของลูกชายค่ะ  ซึ่งหลักการแลรูปแบบการเรียนการสอนเหมือนกับที่ตัวเองต้องเตรียมในการสอนนักศึกษาทหารอเมริกันเลยล่ะค่ะ  อย่างของลูกชายนี่ตอนนี้เขาอยู่ป. 1 กำลังเรียนเกี่ยวกับป่าฝนค่ะ 

 สมมตินะคะว่าชั่วโมงแรกเขาก็ตั้งวัตถุประสงค์ว่า”หลังจากเรียนชั่วโมงนี้แล้วนักเรียนจะสามารถบอกลักษณะของป่าฝนได้อย่างน้อย 3 อย่าง”  โดยคำตอบที่ครูต้องการจะให้นักเรียนตอบในท้ายชั่วโมงก็คือ อากาศร้อน ฝนตก ความชื้น และอื่นๆอีกทั้งหมด 20 คำ  พอประกาศวัตถุประสงค์แล้วเขาก็จะมีเกมส์ให้นักเรียนเล่นค่ะอาจจะเป็นตัดติดรูปกับคำศัพท์ หรือ เกมส์หาคำโดยใช้คำที่ครูได้เตรียมไว้แล้วทั้ง 20 คำมาใช้ค่ะ  นักเรียนก็เล่นเกมส์ไป

พอท้ายๆชั่วโมงเขาก็จะเผื่อเวลาไว้ให้นักเรียนสรุปผลโดยอาจจะตอบคำถามที่ครูถามหรือเขียนประโยคหนึ่งหรือสองประโยคว่าป่าฝนมีลักษณะอย่างไรบ้าง  ซึ่งในการตอบคำถามของนักเรียนแต่ละคนก็ไม่จำเป็นต้องตอบครบทุกๆคำแต่ต้องตอบได้ 3 อย่าง ซึ่งตรงนี้เขาถือว่านักเรียนทำสำเร็จแล้วและหวังว่านักเรียนจะอยากรู้และเรียนเพิ่มเติมจากคำตอบของเพื่อนๆคนอื่น

พอจบบทนักเรียนก็จะต้องเขียนรายงานเกี่ยวกับสัตว์ในป่าฝนซึ่งจะเป็นสัตว์อะไรเด็กๆเค้าก็จะตัดสินใจเลือกเอง  หลังจากนั้นก็จะมีการทำเป็นหนังสือรายงาน  ต่อไปก็รายงานหน้าชั้นโดยตอนที่รายงานหน้าชั้นนั้นทางโรงเรียนก็จะเชิญผู้ปกครองของนักเรียนทุกคนมานั่งฟังด้วยค่ะ  นี่ก็ถือเป็นการฝึกความกล้าแสดงออกไปในตัวด้วยค่ะ  แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าทุกโรงเรียนจะต้องทำอย่างนี้หมดนะคะ  เพราะอย่างที่บอกว่าครูแต่ละคนแต่ละโรงเรียนต้องวางแผนรูปแบบกันเอง 

 แต่โดยทั่วๆไปแล้วครูที่นี่เขาได้รับการฝึกให้วางแผนการสอนแบบนี้ค่ะ  และในการสอนนักศึกษาหรือเด็กโตก็จะทำในลักษณะเดียวกันแต่อาจจะเพิ่มจำนวนงานในวัตถุประสงค์มากขึ้นและใช้เวลาเรียนน้อยลง แต่จะจำกัดเวลาการอธิบายของครูให้มีน้อยที่สุดค่ะ  ซึ่งในเมืองไทยดูเหมือนว่าจะเป็นตรงกันข้ามเพราะครูต้องการมั่นใจว่านักเรียนจะรู้และจำได้ทุกอย่างในเวลาที่กำหนด  ซึ่งคนหรือนักวิชาการที่นี่โดยเฉพาะในสมัยนี้เขาไม่เห็นด้วยและคิดว่าทำให้นักเรียนไม่สามารถนำความรู้ไปใช้จริงได้ค่ะ

อย่างที่บอกเมื่อตอนต้นว่าการเรียนการสอนที่นี่มีทั้งดีและไม่ดี (ตามความรู้สึกส่วนตัวนะคะ) นั่นก็เพราะว่าเรามีความรู้สึกว่านักเรียนได้รับความรู้ไม่ทั่วถึงและไม่แน่นเหมือนวิธีการเรียนการสอนแบบเก่าในบ้านเรา  นักเรียนได้เล่นมากกว่าเรียนเพราะครูไม่บังคับและป้อนข้อมูลให้  แต่ในทางกลับกันก็คิดว่าเรียนแบบนี้จะสอนให้นักเรียนสร้างนิสัยของความอยากเรียนรู้มากกว่าบ้านเรา เพราะนักวิชาการศึกษาที่นี่เขาคิดว่าการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง เราสามารถใช้เวลาเรียนทั้งชีวิตในการเรียนรู้สิ่งหนึ่งๆแทนที่จะรู้ทั้งหมดในเวลาเดียว 

อีกทั้งยังคิดว่าการที่นักเรียนนักศึกษาได้ตั้งคำถามและคิดทดลองหาคำตอบได้เองนั้น นักเรียนจะสามารถโรงเรียนในอเมริกานำไปใช้ได้จริงมากกว่า  อีกทั้งการปิดโอกาสไม่ให้นักเรียนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นจะเป็นการปิดความคิดในการอยากเรียนรู้ของนักเรียนได้ ซึ่งในส่วนตัวเมื่อได้มาเป็นครูผู้สอนแล้วก็จะเอารูปแบบหลักการทั้งของเก่าและของใหม่มารวมกันแล้วก็ดัดแปลงเอาค่ะ  ถ้าเป็นเนื้อหาที่ต้องอาศัยความรู้ของเราหรือโดยเฉพาะถ้ามีเวลาจำกัดแต่เนื้อหาค่อนข้างซับซ้อนแล้วก็จะใช้วิธีเก่าค่ะ คือ การอธิบายทฤษฎีจากนั้นก็ให้ทำแบบฝึกหัดโดยการปรึกษาหารือกลุ่มค่ะ 

ยังไงก็ดีที่เล่ามาทั้งหมดนี้ไม่ได้ตั้งใจจะบอกว่าแบบไหนดีกว่าหรือเหตุผลอย่างอื่น  แต่ที่ตั้งใจไว้ก็คืออยากให้น้องๆหรือผู้ปกครองได้ทราบไว้สำหรับการเตรียมตัว  เพราะเมื่อน้องๆมาเรียนที่นี่แล้วจะได้รู้ตัวล่วงหน้าว่าในห้องเรียนของที่นี่เขามีการเรียนการสอนในรูปแบบไหนค่ะ  ที่สำคัญต้องกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นค่ะ และจำไว้นะคะว่าความคิดทุกความคิดที่มีเหตุผลประกอบอันเหมาะสมนั้นเป็นความคิดที่มีค่าเสมอค่ะ

 



โดย Supakorn Bagley

Intercultural Consulting and Services LLC

ขอบคุณภาพประกอบจาก : www.toonaripost.com,southwestcommunitycenter.wordpress.com

www.ehow.com ,www.glogster.com

 

3 thoughts on “โรงเรียนในอเมริกา VS โรงเรียนไทย

  • ปัจจุบัน เปลี่ยนแปลง เป็น เรียนเพื่อ * ความรู้ * อย่างมีความสุข แต่ เรา ยัง ไม่ได้ ใช้ * นักเรียนเป็น ศูนย์กลาง ของ การศึกษา และ กับ ความพยาม กับ รูปแบบเก่า กับ ความหวังใหม่ ครับ
    อนาคต คือ การเรียนรู้ร่วมกัน ของ ทุกคน ( ครู และ นักเรียน )

    Reply
  • เป้าหมาย และ แผนการการดำเนินการ เรา ไม่ แตกต่าง แต่ แตกต่าง จาก ผลลัพธ์ ของ แผนงาน และ การสำคัญ สำหรับ * การก้าวกระโดด เข้าร่วม ของ อนาคต * และ เพื่อ สร้างพวกเขา ให้ ทำงานปัจจุบัน ของ อนาคต ครับทุกท่าน

    Reply

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *