สัพเพเหระในอเมริกา

ค่าใช้จ่ายต่างๆในอเมริกาในสถานะนักเรียน F-1

ค่าใช้จ่ายต่างๆในอเมริกาในสถานะนักเรียน F-1- ในแต่ละปี มีเด็กไทยจำนวนไม่น้อย ที่ตัดสินใจมาเรียนต่อปริญญาตรีหรือโทในอเมริกา การมาเรียนต่างประเทศนั้น แน่นอนว่ามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าหากท่านพ่อท่านแม่มีทุนหนา ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องนี้มากนัก แต่สำหรับชนชั้นกลางทั่วไปอย่างเราๆ ก็ต้องคำนวณเตรียมพร้อม สำรองเงินค่าใช้จ่ายไว้ให้ดีๆ

วันนี้ GoGoAmerica.com เลยขอพูดถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆในอเมริกาในสถานะนักเรียน วีซ่า F-1 กันหน่อยนะค่ะ

 

ค่าเทอม

ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ๆที่นักเรียนทั่วไปจะมีก็คือ ค่าเทอม ซึ่งที่อเมริกาเค้าจะมีให้เราเลือกว่าเราจะจ่ายเป็นก้อนทีเดียว หรือจะผ่อนจ่ายเป็นงวดๆ เพราะค่าเทอมที่นี่ก็แพงอยู่พอประมาณค่ะ ยิ่งเราเป็นนักเรียนต่างชาติ ค่าเทอมยิ่งแพงกว่านักเรียนอเมริกันหรือนักเรียนอเมริกันที่มาจากต่างรัฐ

ตารางข้างล่างนี้ เป็นตัวอย่างค่าเทอมของ NOVA Community College ใน Virginia ที่นี่จะรับสอนวิชาพื้นฐานของแต่ละสาขา ในระดับปริญาตรี และอนุปริญาเท่านั้น เป็น college ของรัฐที่ดีแห่งหนึ่งค่ะ ส่วนราคาถ้าเทียบกับมหาลัยอื่นก็ถือว่าไม่แพง มาดูค่ะว่าราคาใร Spring semester 2014 ของที่นี่เป็นอย่างไรบ้าง

ค่าเล่าเรียนต่อเทอมจะคิดเป็นหน่วยกิตค่ะ จาก “Per Credit” ในตารางข้างบน แสดงจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายต่อ 1 เครดิต คำนวณมาจาก tuition + Technology Fee+ Facilities Fee + Student Activities Fee

สำหรับน้องๆที่จะมาเรียนปริญาตรีที่อเมริกา จำเป็นจะต้องลงเรียนอย่างต่ำ 12 หน่วยกิต เพื่อรักษาสถานะนักเรียน F-1 ไว้ (ที่มา http://www.american.edu/ocl/isss/F-1-immigration.cfm)

ตัวอย่าง หากน้องคนไหนตัดสินใจมาเรียนที่ NOVA ลงเรียนขั้นต่ำสุด คือ 12 หน่วย ดังนั้น ค่าเรียนเทอม spring นี้ก็คือ $350.5 x 12 = $4206 ซึ่งเมื่อเทียบกับคนอเมริกันที่เกิดและอาศัยใน Virginia เค้าจะจ่ายแค่ $153.25 x 12 = $1839 เท่านั้น!

Level of Study: Credit Hours Per Semester:

  • Undergraduate or Undergraduate Certificate: 12 credit hours
  • Graduate or Graduate Certificate: 9 credit hours
  • Master of Business Administration: 9 credit hours
  • Master of Laws (LLM): 8 credit hours
  • J.D.: 12 credit hours

สำหรับปริญญาโท แม้จำนวนหน่วยกิตขั้นต่ำจะกำหนดได้น้อยกว่า แต่ราคาต่อหน่วยกิตจะสูงมาก ไม่ต่ำกว่า $600 ต่อหนึ่งหน่วยกิตค่ะ

ราคาของหน่วยกิต ก็จะขึ้นอยู่กับสาขาที่เรียนด้วย หากเป็นพวกออกแบบ ดนตรี จะค่อยข้างแพงมาก หน่วยกิตหนึ่งจะสูงกว่า $1000 ขึ้นไปค่ะ

หากใครสนใจเป็นนักเรียน F-1 ในอเมริกา หาข้อมูลที่นี่เลยค่ะ

ค่าหนังสือเรียน

ค่าหนังสือที่อเมริกานี้ก็แพงมิใช่น้อย ยิ่งถ้าเรามาใหม่ๆ ไม่รู้เรื่องอะไรมากนัก ก็จะซื้อหนังสือใหม่ในร้านขายหนังสือมหาลัย ซึ่งเค้าขายในราคาเต็ม วิชาหนึ่งอาจใช้ถึงสามสี่เล่ม บางเล่มสามารถแพงได้ถึง $70-$80 ทีเดียว ดังนั้นเราอาจจะต้องใช้ทางเลือกอื่น คือการ ซื้อหนังสือมือสองออนไลน์ในอเมริกา ตามลิงค์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ การซื้อหนังสือมือสองแบบออนไลน์นี้ ค่าใช้จ่ายในเรื่องหนังสือเรียน จะถูกลง 20% – 80% เลยทีเดียวค่ะ

ค่าเช่าบ้านหรือค่าหอพัก

ส่วนค่าใช้จ่ายหลักที่รองลงมาจากค่าเทอมก็คือ ค่าเช่าบ้านหรือค่าหอค่ะ บางมหาลัยที่นี่เค้าจะบังคับให้อยู่ข้างในหอของมหาลัยปีแรก นั่นคือบังคับในระดับปริญญาตรีตอนปีที่หนึ่ง ดังนั้นนักเรียนที่อยู่หอก็ล้วนแต่จะเป็นนักเรียนปีหนึ่งทั้งนั้น เหตุผลที่เค้าบังคับก็เพราะว่าจะได้รู้จักเพื่อนๆในระดับเดียวกัน ได้ทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนคนอื่นๆด้วยค่ะ

ค่าหอในก็จะแพงหน่อย แต่ส่วนใหญ่แล้วถ้าอยู่หอในเค้าจะรวมค่าอาหารมาด้วยกันกับค่าที่อยู่ แล้วเราก็จะเลือกว่าเราจะเอาสองมื้อหรือสามมื้อต่อวันก็ได้ ซึ่งแต่ละมหาลัย แต่ละหอก็จะมีราคาที่ต่างกัน แต่รับรองว่าแพงกว่าการอยู่ข้างนอกแคมปัสถึงสองเท่าแน่นอน

พอหลังจากปีแรกหรือสองปีแรกที่อยู่ข้างในมหาลัย เราก็สามารถออกมาหาห้องพักเองได้ ซึ่งค่าเช่าก็จะถูกลงนิดหน่อย แต่ค่ากินนี่จะถูกลงครึ่งต่อครึ่งเลยค่ะ และเราก็จะสามารถเลือกกินอาหารชาติไหนก็ได้ เพราะข้างนอกอาหารจะราคาพอๆกัน หรือถ้าเราอยากจะทำอาหารเองก็ เราก็สามารถซื้ออาหารเก็บมาทำเป็นอาทิตย์ ถ้าแบบนั้นก็จะยิ่งถูกลงอีกเพราะเราจะไม่ต้องทิปคนเสริฟ

การเดินทาง

หากเมืองที่เราได้ไปศึกษาต่อมีระบบการขนส่งที่ดี อย่างเช่น NewYork หรือ Washinton DC area เราสามารถใช้รถไฟฟ้าใต้ดินได้สบายมาก ซื้อเป็นบัตรเติมเงินทีเดียว ใช้ได้เรื่อยๆจนเงินหมดก็เติมใหม่ค่ะ สามารถใช้กับรถโดยสารประจำทาง รถไฟใต้ดิน และรูดค่าจอดรถที่สถานีรถไฟฟ้าได้ด้วยค่ะ

ข้างล่างเป็นตัวอย่างค่าใช้จ่ายของรถไฟฟ้าใน NewYork (ที่มา:http://web.mta.info/nyct/fare/FaresatAGlance.htm)

Base Fare – $2.50 
Subway and Local Bus (Reduced-Fare $1.25)

Express Bus – $6.00 

(Reduced-Fare $3.00 off-peak only)
7-Day Unlimited – $307-Day Express Bus Plus – $55
30-Day Unlimited – $112
Pay-Per-Ride Bonus
An additional 5% is added to your MetroCard with the purchase or addition of $5 or more.
Single Ride ticket – $2.75
(No Reduced-Fare)
Sold at vending machines only.
Must be used within 2 hours;
no transfers included.
Fee for purchase of a new MetroCard – $1 
Fee applies to each new MetroCard purchased at station booth, vending machine or commuter rail station.

ส่วนใครสนใจอยากรู้ข้อมูลเรื่องรถประจำทาง ดูข้อมูลเพิ่มเติมทางนี้ได้เลยค่ะ การเดินทางในอเมริกาโดยรถบัส

ถ้าหากเราตัดสินใจซื้อรถ การเดินทางไปไหนก็จะสะดวกขึ้น แต่ค่าเดินทางก็จะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ ค่าใช้จ่ายที่จะต้องเพิ่มขึ้นมาก็จะมี ค่าน้ำมัน, ค่าประกันรถ, ค่าEmission และ Inspection, ค่าบำรุงรักษาทั่วไปของรถ เช่นค่าเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นต้น

รถมือสองที่นี่ถ้าเทียบคุณภาพกับเมืองไทยแล้ว จะสามารถซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าด้วย เพราะฉะนั้นก็อยู่ที่ความคิดของแต่ละคนว่าอยากจะมีค่าใช้จ่าย อยากมีภาระเพิ่มหรือเปล่าในการดูแลรถ แต่จะสามารถไปไหนมาไหนได้สะดวกขึ้น ไม่ต้องคอยอาศัยคนอื่นหรือรอรถสาธารณะค่ะ

หากใครต้องการซื้อรถในอเมริกา ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมทางนี้เลยค่ะ

ค่าโทรศัพท์

หากเราอยู่ในอเมริกาเป็นปี แน่นอนว่าโทรศัพท์ค่อนข้างจำเป็นเลยค่ะ เผื่อมีเหตุฉุกเฉิน หรือมีเหตุเร่งด่วนอะไร เราก็ยังมีโทรศัพท์ไว้ใช้ในยามจำเป็น ในระยะสั้น เราสามารถซื้อเป็น prepaid phone ไว้ใช้ได้เลย โดยไม่ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ หรือสัญญาอะไรทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ใครมีไอโฟน unlocked ก็เอามาโลดค่ะ ที่นี่มีซิมการ์ดขายที่ Walmart ราคาแค่ 25 เหรียญ ทุกอย่าง unlimited (talk, text, web) ค่าบริการรายเดือนตกเดือนละ $40 นิดๆเท่านั้น (AT&T), หรือ  AT&T GoPhone Sim Card เพียง 9 เหรียญกว่า จ่ายแบบเติมเอาเองเมื่อต้องการใช้

การใช้โทรศัพท์ในอเมริกาไม่ว่าจะโทรออกหรือรับสายเข้าก็จะถูกคิดนาทีทั้งหมด (ต่างจากเมืองไทยที่คนรับสายไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและไม่โดนหักจำนวนนาทีด้วย) ดังนั้นคนที่มาอเมริกาใหม่ๆ ต้องระวังนะค่ะ เพราะถ้าโทรเกินจำนวนนาทีที่กำหนดไว้ แล้วหละก็ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเยอะค่ะ เจอมากับตัวแล้ว ใน 2 เดือนแรกที่เปิดใช้บริการ เรียกได้ว่าเม้าท์กระจาย ต้องเสียค่าธรรมเนียมเกือบหลายร้อยดอลค่ะ

แต่ข้อดีของโทรศัพท์มือถือของสหรัฐอเมริกาก็คือหลังสามทุ่มมักจะโทรฟรีตลอดคืน บางยี่ห้อก็โทรฟรีได้ตั้งแต่หนึ่งทุ่ม สามารถเม้าท์กระจายได้ในช่วงนี้ และปัจจุบันการโทรจากอเมริกามาเมืองไทยเป็นเรื่องแสนง่ายและราคาถูกมาก ทั้งแบบที่เป็นบัตรโทรศัพท์ซึ่งหาได้จากปั๊มน้ำมันและร้านขายของชำในสหรัฐอเมริกาหรือซื้อแบบออนไลน์ทางอินเตอร์เนท
คนที่มาถึงอเมริกาใหม่ๆ มักจะคิดถึงบ้าน ควรเตรียมซื้อบัตรโทรศัพท์สำหรับโทรออกนอกประเทศมาเตรียมไว้แต่เนิ่นๆด้วยนะค่ะ

สามารถอ่านต่อรายละเอียดเรื่องการค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้ที่ link ข้างล่างเลยค่ะ

นอกจากค่าใช้จ่ายพื้นฐานขั้นต้นแล้ว การอยู่อาศัยในอเมริกาในฐานะนักเรียนนั้นยังมีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่มองไม่เห็นอีกนะคะ เช่น ค่าใช้จ่ายไปกิน-เที่ยวกับเพื่อนๆ, ค่าอุปกรณ์การเรียนเพิ่มเติม, ค่าทิปในร้านอาหาร, หรือค่าข้าวของเครื่องใช้จิปาถะอื่นๆเช่น เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ในห้องน้ำ เป็นต้น
ดังนั้น ใครที่มาเรียนต่อที่นี่ ก็เผื่อเงินสำรองไว้สักนิด เผื่อเหลือดีกว่าขาดค่า และหากใครต้องการเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อจะได้มีบัตรเดบิตไว้ใช้จ่ายที่อเมริกาแทนเงินสด ก็ทำได้ง่ายมากค่ะ สามารถดูรายละเอียดการทำบัตรเครดิตได้ตามลิงค์ข้างล่างได้เลยค่ะ

2 thoughts on “ค่าใช้จ่ายต่างๆในอเมริกาในสถานะนักเรียน F-1

  • สถาบันสอนภาษาราคาไม่แพงใน Downtown Los Angeles .CA สมัครขอ I-20 ง่ายๆไม่ยุ่งยากโดยตรงกับเจ้าพนักงานคนไทยค่ะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ nicky@lascusa.com

    http://www.lascusa.com

    Reply
  • เรียนเมืองไทยดีสุด มีคุณภาพและถูกกว่า ใกล้ชิดกับแหล่งงานมากกว่าเอาตัวเองไปลำบากอยู่ต่างประเทศ
    บริษัทต่างชาติในไทยก็ไม่ใช่บริษัทอังกฤษ เป็นพวกบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมาก คนทำงานกลุ่มหนึ่งต้องไปเรียนภาษาญี่ปุ่นไม่ใช่อังกฤษ

    Reply

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *