คนดังในอเมริกา

มาร์ติน ลูเธอร์คิง นักสู้สิทธิมนุษยชน เพื่อคนผิวสี

ช่วงนี้ใกล้ถึงงานพีธีสาบานตนเพี่อรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกากันแล้ว ซึ่งจะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2013 ตามเวลาท้องถิ่นอเมริกาและในวันจันทร์นี้เองก็เป็นวันหยุดสำคัญในอเมริกาอีกด้วย ในทุกปีซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่สามของเดือนมกราคม กำหนดให้มีขึ้นพื่อรำลึกถึง มาร์ติน ลูเธอร์คิง นักเรียกร้อง นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ต่อต้านการเหยียดสีผิวในอเมริกา

วันนี้เราจะไปติดตามประวัติของ มาร์ติน ลูเธอร์คิง (Martin Luther King)นักสู้ผิวสีคนสำคัญกันค่ะ

ประวัติส่วนตัว

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King, Jr.; 15 มกราคม พ.ศ. 2472 – 4 เมษายน พ.ศ. 2511) เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง และหมอสอนศาสนานิกายแบปติส เกิดที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เป็นบุตรชายของพระแบปติส ได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยมอร์เฮาส์ แอตแลนตา จากวิทยาลัยการศาสนาโครเซอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย และจากมหาวิทยาลัยบอสตัน ต่อมาได้กลายเป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิเสมอภาคของชาวผิวดำ

โดยใช้นโยบาย และแนวทางต่อต้านที่ใช้ความนุ่มนวลตามแนวทางของมหาตมะ คานธี และจากทักษะการพูดต่อสาธารณะที่เป็นที่เลื่องลือ คิงได้เป็นผู้นำในการคว่ำบาตรไม่ยอมรับการแบ่งแยกคนผิวดำที่ไม่ให้โดยสารรถประจำทางร่วมกับคนผิวขาว ที่เมืองมอนต์โกเมอรี รัฐแอละแบมา และจัดประชุมผู้นำศาสนาคริสเตียนตอนใต้ ในระหว่างนี้เขาถูกจับขังคุกหลายครั้ง

ในปี พ.ศ. 2506 คิงเป็นผู้นำในการเดินขบวนอย่างสันติที่อนุสาวรีย์ลิงคอล์นในวอชิงตัน ดี.ซี. โดยมีผู้เข้าร่วมเดินมากถึง 200,000 คน ในการประชุมครั้งนี้เองที่คิงได้แสดงสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงคือ “ข้าพเจ้ามีความฝัน” (I Have a Dream) ในโอกาสนี้เขายังได้ประกาศว่า อเมริกาจะปราศจากความลำเอียงและไม่มีอคติต่อคนผิวสีในปี พ.ศ. 2507

ในปี พ.ศ. 2507 มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับรางวัลสันติภาพเคเนดี (Kendy Peace Prize) รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ความสำเร็จสูงสุดของเขาได้แก่การท้าทายอำนาจของกฎหมายแบ่งแยกผิวในภาคใต้ของสหรัฐฯ หลังจากปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นไป มาร์ติน ลูเธอร์ คิงได้หันความสนใจไปเน้นการรณรงค์ให้มีการปรับปรุงสภาพสังคมของคนผิวดำ และคนยากจนในภาคเหนือของประเทศซึ่งพบว่าง่ายกว่า นอกจากนี้ คิงได้รณรงค์ต่อต้านการทำสงครามเวียดนาม และจะจัดการชุมนุมใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อีกครั้งหนึ่ง

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ถูกลอบยิงถึงแก่ชีวิตที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี โดยเจมส์ เอิร์ล เรย์ ชาวผิวขาว ซึ่งต่อมาถูกจับกุมได้ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและถูกศาลพิพากษาจำคุก 99 ปี

หลังจากที่เขาถูกลอบสังหารในปี พ.ศ. 2511 เขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติจวบจนทุกวันนี้

วันที่ 15 มกราคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับการประกาศให้เป็น “วันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง” อันเป็นวันนักขัตฤกษ์ระดับชาติของสหรัฐอเมริกา และได้ทยอยการยอมรับจากรัฐต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา และในปัจจุบัน “วันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง” ได้ปรับเปลี่ยนให้จัดขึ้นทุกวันจันทร์ที่สามของดือนมกราคม

คิงมีชื่อเสียงในเรื่องการพูดต่อสาธารณชน สุนทรพจน์ “I Have a Dream” ที่เขากล่าวในการเดินขบวนปี พ.ศ. 2506 ได้รับการยกย่องอย่างสูง ว่าทรงพลังและเป็นแบบอย่างของการพูดในที่สาธารณะ คำสุนทรพจน์นี้ มีในเพลงของวง ลินคินพาร์ก คือเพลง Wisdom , Justice and Love

และในปี 2555 ทางสหรัฐฯเปิดตัวอนุสรณ์สถานของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองและความยุติธรรมทางเชื้อชาติ ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี ซึ่งถือเป็นอนุสรณ์สถานแห่งแรก ที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่ออุทิศให้แก่สงคราม ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือคนผิวขาวคนอื่นๆ แต่จุดประสงค์หลักของการสร้างอนุสรณ์สถานก็คือต้องการให้ชาวอเมริกันเห็นความสำคัญของความยุติธรรม ประชาธิปไตย ความหวังและความรัก สมดังสโลแกนของเขา “I Have a Dream”



 

ขอบคุณข้อมูลจาก: http://th.wikipedia.org/wiki

ขอบคุณภาพประกอบจาก: twhite6868.blogspot.com,fwdnation.com,chipsifraternity.wordpress.com,www.belmont.edu/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *