สิ่งที่ควรรู้เมื่อ ทำพาสปอร์ต (Passport)
สิ่งสำคัญมากๆ ที่พวกเราคนรักการเดินทางไกลหรือคนที่ไปต่างแดน จำเป็นจะต้องมีติดตัวอย่างแน่นอน พอจะเดาออกกันมั้ยค่ะ ว่าสิ่งนี้คืออะไร คำตอบนั่นก็คือ หนังสือเดินทางนั่นเอง หลายคนก็เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า พาสปอร์ต (passport) แทนซะเลยค่ะ เพราะเรียกง่าย และฟังดูหรูกว่าเยอะ
ทำไมพวกเราจะต้องมีพาสปอร์ต (passport)???
หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (passport) มีไว้เพื่อแสดงตัวตนของเราในต่างแดนค่ะ เอาตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเรา อยู่ที่เมืองไทย เวลาจะแสดงตัวตน หรือว่าจะต้องติดต่องาน สมัครงาน หรือทำธุรกรรมต่างๆ เรา ก็ต้องแสดงตัวตนด้วยบัตรประชาชน
แต่ที่นี้ เมื่อได้ไปอยู่ต่างประเทศ การจะมาแสดงตัวตนของเราด้วยบัตรประชาชนไทยนั้น คนต่างแดนต่างภาษาคงงงน่าดูค่ะ เพราะอ่านภาษาไทยไม่ออก ดังนั้นจึงต้องมีเอกสารที่แสดงตัวตนของเราอย่างเป็นสากลเวลาเดินทางไปต่างประเทศ และสิ่งนั้นคือ หนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ต (passport) นั่นเอง
เมื่อเราได้หนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต (passport)มาแล้ว เราก็สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ ส่วนประเทศไหนที่เราจะต้องขออนุญาตเข้าประเทศของเขา เราก็จะต้องไปขอวีซ่าต่างหากอีกทีหนึ่ง
วันนี้เราจะมาพูดกันเรื่องข้อมูล ทำพาสปอร์ต (passport) สำหรับคนที่กำลังวางแผนไปต่างประเทศ (โดยไปเฉพาะอเมริกา)ได้เตรียมตัวกันค่ะ
หนังสือเดินทาง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Passport เป็นเอกสารสำคัญสำหรับบุคคลที่จะเดินทางไปต่างประเทศ มีอายุการใช้งาน 5 ปีเท่านั้นค่ะ โดยในหนังสือเดินทางจะมีการระบุข้อมูล อาทิ ชื่อผู้เดินทาง ลายมือชื่อ รูปถ่าย อายุ สัญชาติ ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกและใช้เป็นหลักฐานในการขอหนังสือลงตรา หรือที่เรียกกันว่าวีซ่า (Visa)
โดยหนังสือเดินทางนั้นมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
หนังสือเดินทาง (Passport)เป็นหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป หรือข้าราชการ และพนักงานของรัฐ ก็สามารถใช้ในกรณีที่เดินทางไปต่างประเทศด้วยกิจธุระส่วนตัว ตัวเล่มจะใช้สีเลือดหมู
หนังสือเดินทางฑูต (Diplomatic) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับนักการทูต และข้าราชการการเมือง เพื่อใช้เดินทางไปราชการต่างประเทศเท่านั้น มีสีแดงสด
หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับข้าราชการ สำหรับเดินทางไปราชการนั้น ๆ เป็นเล่มสีน้ำเงิน
หนังสือเดินทางยกเว้นค่าธรรมเนียม (Gratis)เป็นหนังสือเดินทางสำหรับข้าราชการเกษียณอายุ, พนักงานของรัฐ และข้าราชการที่จะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทุนส่วนตัว หรือไปฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ จะป็นเล่มสีน้ำตาล
ภายหลังจากปี พ.ศ.2548 เป็นต้นมา กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศได้เปลี่ยนหนังสือเดินทางธรรมดามาเป็น “หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์” หรือ “E-passport”แล้ว ซึ่งเป็นหนังสือเดินทางที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)ซึ่งแตกต่างจากหนังสือเดินทางแบบเดิม ดังนี้
มี การบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ได้แก่ รูปใบหน้า และ/หรือ ลายนิ้วมือ และ/หรือ ม่านตา ไว้ใน Contactless Integrated Circuitซึ่งฝังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง
มีการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของหน้งสือเดินทาง
หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่าหนังสือเดินทางแบบเดิมอย่างไร
สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้สูง เป็นมาตรการสำคัญในการสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง ฯลฯ
สามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำและรวดเร็ว อำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง การเข้าเมือง และส่งเสริมการท่องเที่ยว
เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ทำให้หนังสือเดินทางไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับสากลยิ่งขึ้น ส่งผลต่อเนื่องทางบวกด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศ
เอกสารที่ต้องใช้ในการทำหนังสือเดินทาง (Passport)
สำหรับการขอทำหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป ที่อายุเกิน 20ปี จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอทำหนังสือเดินทาง ดังนี้
บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งานหรือ บัตรข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง(ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)
หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ
การทำหนังสือเดินทางใหม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
กรณีที่ผู้ยื่นขอเป็นผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ก็จะมีรายละเอียดเอกสารที่ต่างออกไป ดังนี้
สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นฉบับสำเนาก็ต้องได้รับการรับรองจากเขตหรืออำเภอ
บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งานหรือ บัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ของบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง และหากชื่อ-นามสกุล บิดา มารดา ในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย ในกรณีที่มารดาหย่าและจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมา แสดงด้วย
หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ และบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดา มารดา ในกรณีที่บิดา/มารดาหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้
เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิหลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตร หรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาหรือมารดา เป็นต้น
การทำหนังสือเดินทางใหม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ส่วนในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณี บิดา มารดา ของผู้เยาว์เสียชีวิต,กรณีที่บิดา มารดา ของผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติที่มิได้จดทะเบียนสมรส,กรณีที่ไม่สามารถตามหา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้,รณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตร อยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้ ซึ่งกรณีเหล่านี้ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดงด้วย
กรณีหากเป็นผู้เยาว์ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก็สามารถขอทำหนังสือเดินทางด้วยตัวเองได้โดยใช้เอกสาร ดังนี้
บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทย
หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอหรือเขต และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครองพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลัก ฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรมใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น
เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ขั้นตอนการทำพาสปอร์ต (passport)
1. รับบัตรคิว
2.ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก (หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อตรวจสอบข้อมูล
3.ในการทำหนังสือเดินทางจะมีการเก็บข้อมูลทางชีวภาพ คือ มีการวัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้าย และนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า
4.แจ้งความประสงค์ว่าจะมารับหนังสือเดินทางด้วยตัวเอง หรือต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
5.ชำระ ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง 1,000 บาท หากต้องการให้จัดส่งทางไปรษณีย์ จะต้องชำระค่าส่งไปรษณีย์ เพิ่มเติมอีก 35 บาท จากนั้นรับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม
เมื่อไหร่จะได้รับพาสปอร์ต (passport)
กรณี ยื่นขอทำหนังสือเดินทางที่กรมการกงสุล หรือสำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ คือที่ปิ่นเกล้า และบางนา จะสามารถรับหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต (passport)ได้ภายใน 2วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง และหากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ(ไม่รวมวันเสาร์-อาทิตย์)
กรณี ยื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด หนังสือเดินทางจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์เท่านั้น โดย จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ ไม่นับวันยื่นคำร้อง และวันเสาร์-อาทิตย์
หลักฐานที่ใช้ประกอบการรับพาสปอร์ต (passport)
กรณีรับด้วยตัวเอง
1.บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับ
2.ใบรับหนังสือเดินทาง (passport)
กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมารับแทน
1.บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ถือพาสปอร์ต (passport)
2.บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับแทน
3.ใบรับหนังสือเดินทางที่ลงนามมอบอำนาจแล้ว
วันเวลา และสถานที่ที่สามารถติดต่อทำพาสปอร์ต (passport)ได้
กรมการกงสุล
123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0-2981-7171-99 , 0-2981-7257-8
โทรสาร 0-2981-7256
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-15.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า
อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ (ชั้นใต้ดิน) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม.10700
โทรศัพท์ 0-2446-8111-2 โทรสาร 0-24468118-9
วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-15.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา
ศูนย์การค้าเซ็ลทรัลซิตี้ บางนา บริเวณลานจอดรถ ชั้น P9
โทรศัพท์ 0-2383-8401-3 โทรสาร 0-2383-8398
วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-15.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์บริการการไปทำงานต่างประเทศ
อาคารประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ดินแดง กทม.
โทรศัพท์ 0-2245-9439 โทรสาร 0-2245-9438
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดขอนแก่น
ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ จังหวัดขอนแก่น
โทรศัพท์ 0-4324-2707,0-4324-3462,0-4324-2655
โทรสาร 0-4324-3441
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5389-1535-6 โทรสาร 0-5389-1534
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสงขลา
ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนราชดำเนิน อ.เมือง จ.สงขลา 9000 โทรศัพท์ 0-7432-6510-1 โทรสาร 0-7432-6506
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธานี
อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด
โทรศัพท์ 0-4524-2313-4 โทรสาร 0-4524-2301
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ 077-274940, 077-274942-3 โทรสาร 077-274941
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครราชสีมา
ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทร 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุดรธานี
ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี(ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
โทร 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดพิษณุโลก
ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทร 055-258-173, 055-258-155, 055-258-131, โทรสาร 055-258-117
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดยะลา
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
โทร 073-274-526, 073-274-036, 073-274-037 โทรสาร 073-274-527
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดภูเก็ต
ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
โทร 076-222-080, 076-222-081, 076-222-083 โทรสาร 076-222-082
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครสวรรค์
ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
โทร 056-233-453, 056-233-454 โทรสาร 056-233-452
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดจันทบุรี
อาคารลานค้าชุมชน ถ.เลียบเนิน ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
โทร 039-301-706-9
คำแนะนำในการใช้พาสปอร์ต (passport)
- ห้ามขีด เขียน หรือแก้ไขหนังสือเดินทาง
- ก่อนออกเดินทางควรตรวจดูความเรียบร้อยของพาสปอร์ต (passport) และวันหมดอายุ หากใกล้อายุควรรีบต่ออายุก่อนออกเดินทาง
- ถือเป็นหลักปฏิบัติและเป็นกฎเกณฑ์สำหรับหลายประเทศที่จะต้องมีพาสปอร์ต (passport) ที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนก่อนการเดินทางออกนอกประเทศ หากหนังสือเดินทางมีอายุไม่ถึง 6 เดือน จะต้องยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางใหม่ รวมทั้ง วีซ่าควรตรวจสอบกับสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลของประเทศที่กำลังจะเดินทางไป เกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆ ก่อนเดินทาง
- ก่อนออกเดินทางควรถ่ายสำเนาพาสปอร์ต (passport)ไว้ 1-2 ชุด เพื่อใช้เป็นหลักฐานยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในกรณีที่พาสปอร์ต (passport)สูญหาย
- ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน ควรแจ้งชื่อ ที่อยู่ให้สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่เดินทางไปพำนักทราบ รวมทั้งแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ทุกครั้ง เพื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยสามารถติดต่อท่านได้ในยามฉุกเฉิน
พาสปอร์ต (passport) หาย ทำอย่างไร
กรณีที่ทำพาสปอร์ต (passport) สูญหายในประเทศ ต้องติดต่อแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและรับใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อมายื่นขอทำพาสปอร์ต (passport) ฉบับใหม่ และยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางฉบับที่สูญหาย
กรณีที่ทำพาสปอร์ต (passport) สูญหายในต่างประเทศ ต้องแจ้งความพาสปอร์ต (passport) สูญหายต่อทางการท้องถิ่น และนำใบรับแจ้งความดังกล่าวนั้นพร้อมเอกสารแสดงการมีสัญชาติไทยของตน หรือเอกสารทะเบียนราษฎรที่มีอยู่ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ฯลฯ ไปติดต่อที่สถานทูต สถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่สุด เพื่อขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่
กรณีที่ทำพาสปอร์ต (passport) สูญหายในต่างประเทศแล้วต้องการเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการเร่งด่วน ไม่ สามารถรอรับหนังสือเดินทางได้ สถานทูตสถานกงสุลจะออกเอกสารเดินทาง(Certificate of Identity) ให้ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเอกสารเดินทางจะหมดอายุการใช้งานทันที
สำหรับผู้ที่ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องพาสปอร์ต (passport) สามารถเข้าไปหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์นี้ค่ะ www.consular.go.th
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก:www.consular.go.th , http://travel.kapook.com/,www.skeducation.com
สวัสดีค่ะ ขอรบกวนถามเรื่องพาสปร์อต
กรณีที่เราอยู่อเมริกามาเกือบสองปีแล้วหลังแต่งงาน จดทะเบียนสมรส แล้วถ้าจะต้องจองตั๋วเครื่องบิน เราจำเป็นต้องให้นามสกุลในพาสปร์อต กับตั๋วตรงกันหรือเปล่าคะ(แต่พาสปร์อตยังเป็นนามสกุลเดิม) ปัจจุบันนี้เปลี่ยนนามสกุลสามีแล้วค่ะ และเราจำเป็นต้องไปเปลี่ยนพาสปร์อตให่เพื่่อให้เป็นนามสกุลสามีไหมคะ ในกรณีที่พาสปร์อตเก่า นามสกุลเดิมยังไม่หมดอายุ ขอรบกวนตอบคำถามด้วยนะคะ เพราะใกล้กลับไทยแล้ว แต่ยังสับสนในเรื่องของนามสกุล เก่าใหม่ และต้องไปขอใบรับรองประทับตราอะไรจากสถานทูตไทยทีาอเมริกา ก่อนกลับไทยหรือเปล่าคะ
I LOVE THAILAND WELLCOME TO USA.
ขอถามหน่อยค่ะพาร์ทสปอร์ตจะหมดอายุ เดือน เมษายน 2016 แต่จะต้องเดินทางไปอเมริกา เดือน พฤษภาคม 2016 สามารถไปต่อพาร์ทสปอร์ตไว้ได้เลยไหมค่ะ เพื่อทำนัดหมายขอวีซ่า ขอPINได้ที่ไปรษณีเหมือนเดิมหรือเปล่าคะ
ต่อเลยค่ะ ปกติแล้วเราจะต้องมีอายุพาสปอร์ตมากกว่าหกเดือน ในวันเดินทางนะคะ
ในกรณีเรื่องวีซ่าในพาสเก่า ถ้ายังไม่หมดอายุและไม่มีความจำเป็นต้องต่อ เราก็เก็บพาสปอร์ตเดิมที่มีวีซ่าติดไปกับพาสปอร์ตใหม่ เท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ
อยากทราบค่ะว่า…มีพลาสปอตร์อยู่แล้ว…แต่จะไปอีกประเทศที่เราไม่เคยไป .จะต้องทำพลาสปอตร์ใหม่ไหม
ปีหน้าจะเดินทางไปเที่ยวสวีเดนค่ะ พาสปอร์ตยังไม่มี ถ้าไปขอวีซ่าด้วยหน้าพาสปอร์ตแบบขาวสะอาด จะได้ไปมั้ยคะ กังวลมากเลย ค่าตั๋วเครื่องบินก็ไม่ใช่ถูกๆ ใครมีคำแนะนำดีดีติดต่อกลับได้นะคะ ขอบคุณมากค่ะ