ชีวิตต้องสู้! เมื่อมา เรียนต่อในอเมริกา ตอนที่1
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศของความหวังและโอกาส แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าชีวิตของคนที่นี่ จะโรยไปด้วยกลีบกุหลาบและได้ทุกอย่างมาง่ายๆนะคะ อันที่จริงแล้วชีวิตของคนที่นี่ก็ต้องต่อสู้ค่ะ ยิ่งหวังมากหรือยิ่งตั้งความหวังไว้สูงก็ต้องดิ้นรนค่ะ
เมื่อครั้งเรามา เรียนต่อในอเมริกา การใช้ชีวิตนักศึกษาในอเมริกานั้นไม่ง่ายเลยค่ะ เราต้องตื่นตัวรับสิ่งใหม่ๆที่เข้ามาอยู่เสมอไม่เว้นวัน ต้องพยายามศึกษาเข้าใจในสิ่งที่เราไม่เคยรู้ ต้องทำงานหนักทั้งเรื่องการเรียนและงานเสริมค่ะ
เริ่มคิดมา เรียนต่อที่อเมริกา
ตอนที่ตัดสินใจมาก็ตั้งความหวังไว้ว่า การศึกษาจะช่วยให้หางานที่ดีและมีรายได้ดีกว่าเดิมหลังจากเรียนจบกลับไปเมืองไทยแล้ว
ถ้าพูดถึงการเรียนส่วนตัวแล้วเป็นคนที่เรียนหนังสืองั้นๆค่ะ เพราะเรียนจบปริญญาตรีมาก็แค่ผ่าน แต่เห็นคนอื่นเขาไปเรียนเมืองนอกกลับมาแล้วได้ดี ก็เลยอยากจะเป็นเหมือนเขาบ้างค่ะ คิดว่า มาเรียนต่ออเมริกาน่าจะเหมาะ ดูท่าจะหางานได้ง่ายกว่าและสบายกว่าตอนกลับมา พอตัดสินใจก็ทำเรื่องขอวีซ่าทันทีค่ะ โดยใช้ใบตอบรับจากโรงเรียนภาษาอังกฤษ เพราะว่าตอนนั้นยังไม่ได้สมัครเข้าเรียนปริญญาโทค่ะ
เหยียบประเทศอเมริกา-เข้าโรงเรียน
ตอนที่มาถึงโชคดีนิดนึงที่ทางบ้านรู้จักคนไทยที่นี่ เลยมีคนไปรอรับที่สนามบิน คุณอาท่านนี้ก็ไม่เคยพบ ไม่เคยรู้จักมาก่อน ตอนที่มารอรับคุณอาก็เขียนป้ายชื่อเป็นภาษาไทย รออยู่ที่สนามบิน พบกันแล้วคุณอาก็พาไปส่งที่มหาวิทยาลัยที่ต้องไปเรียนภาษา เพราะได้ติดต่อหอพักของมหาวิทยาลัยไว้แล้ว ไปรายงานตัวแล้วก็เข้าที่พักได้เลยค่ะ
เวลารายงานตัวก็เช็คชื่อและเอกสาร จากนั้นเจ้าหน้าที่เขาก็บอกชื่ออาคารหอพัก แต่ไม่ได้พาไปต้องหาเองค่ะ ที่หอพักจะมีนักศึกษาทำงานพิเศษดูแลหอพัก ซึ่งนักศึกษาใหม่จะไปรับกุณแจห้องได้ที่นั่น
เจอกับความหนาวสุดขั้ว
ตอนที่มาถึงนั้นเป็นช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนในปี 2000 ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวค่ะ ในรัฐ Minnesota ตอนนั้นหนาวมากค่ะ พอมาถึงยังไม่ถึงอาทิตย์ก็มีพายุหิมะ อุณหภูมิประมาณ -35 องศาฟาเรนไฮซ์ แต่ทางมหาวิทยาลัยซึ่งโรงเรียนสอนภาษาตั้งอยู่นั้นเปิดทำการตามปกติค่ะ ก็ไม่มีทางเลือกต้องออกไปเรียนทุกวันตามปกติ
โชคดีหน่อยที่ตอนนั้น พักในหอพักของมหาวิทยาลัย ก็เลยไม่ต้องเดินทางไกลมาก แต่ถึงอย่างงั้นก็ต้องเดินเป็นกิโลเหมือนกันนะคะ รถยนต์ไม่ต้องพูดถึงค่ะ ไม่มีหรอกค่ะ เพราะทุนพระบิดาไม่มีงบให้ค่ะ ต้องเดินหรือไม่ก็ขึ้นรถมหาวิทยาลัย หรือรถเมล์ตลอดเวลาที่เรียนอยู่นั่นแหละค่ะ เวลาเดินก็จะปิดคลุมหน้าทั้งหมดค่ะเปิดไว้แต่ที่ตา นี่ก็เพราะว่าอากาศหนาวมากๆ ถ้าไม่คลุมไว้ความเย็นจะกัดและผิวจะแตกค่ะ
ช่วงเดือนแรกกับชีวิตนักศึกษาในอเมริกา
ในเดือนแรกที่พักในหอพักของมหาวิทยาลัย ทางโรงเรียนภาษาคิดค่าอาหารรวมในค่าที่พัก นักเรียนจะต้องอ่านรายละเอียดการใช้บัตรอาหาร และเงื่อนไขอื่นๆเอง ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความลำบากก็ว่าได้
ถ้านักเรียนจากต่างประเทศรู้ภาษาอังกฤษจำกัด หรือไม่สนใจที่จะอ่านเงื่อนไขหรือระเบียบการต่างๆ อาจจะเสียค่าใช้จ่ายซ้ำหรือเสียประโยชน์ได้ค่ะ เพราะตอนที่มาถึงเจ้าหน้าที่จะอธิบายเหมือนกัน แต่จะไม่พาเราไป ต้องหาทางไปเอง จากอาคารแรก ไปอาคารหอพัก ไปโรงอาหาร เงื่อนไขต่างๆเขาก็ไม่บอกไม่สอน เพราะถือว่าทุกอย่างบอกไว้ในเอกสารหมดแล้ว นักเรียนอ่านเองได้ พูดง่ายๆคือดูแลตัวเองทั้งหมดค่ะ
พอเดือนที่สองก็หาที่อยู่ข้างนอกเพราะราคาถูกกว่า ตอนที่หาที่พักก็คิดว่าคงจะเหมือนที่เมืองไทย ออกไปเดินหาอพาร์ทเม้นต์ใกล้ๆกับมหาวิทยาลัย ถ้าชอบก็เดินเข้าไปถาม อาคารอพาร์ทเม้นต์มีเยอะแยะรอบๆมหาวิทยาลัย แต่ไม่เห็นว่าจะมีออฟฟิศหรือห้องทำงานของผู้จัดการอพาร์ทเม้นต์ ที่ไหนได้ต้องโทรศัพท์ติดต่อผู้จัดการ เพื่อนัดดูอพาร์ทเม้นต์หรือถามคำถามต่างๆก่อน ถ้าไม่งั้นก็เข้าไปดูไม่ได้
ตอนนั้นก็งงอยู่หลายวันจนอดไม่ไหวเลยเอ่ยปากถามเพื่อน เขาก็เลยอธิบายให้ฟังว่า ถ้าอพาร์ทเม้นต์มีห้องว่างให้เช่า เขาก็จะติดป้ายไว้ข้างหน้าอาคาร เราต้องโทรศัพท์ติดต่อไปก่อน นี่เป็นประสบการณ์ตรงจากรัฐ Minnesota นะคะ ที่รัฐอื่นอาจจะแตกต่างกันบ้างก็ได้ค่ะ
ต้องเรียนต่อโทให้ได้!
ในช่วงที่เรียนภาษาก็หาทางที่จะเข้าเรียนต่อปริญญาโทให้ได้ ติดต่อกับทางมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เวลาติดต่อกับทางมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ต้องเริ่มจากหาชื่อและหมายเลขโทรศัพท์หรือ email address ของ Director ของคณะทีสนใจ แล้วเริ่มเจรจาต่อรองเพื่อให้เขาเชื่อว่าเราจะสามารถเรียนได้จบค่ะ
เรื่องนี้ลำบากมากหน่อยเพราะไม่ตั้งใจเรียนตอนปริญญาตรี เกรดเฉลี่ยตอนจบก็เลยไม่สูงพอ ทางมหาวิทยาลัยบอกว่าต้องใช้คะแนน GMAT ถึงจะเข้าเรียนได้ นี่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีนะคะ ถ้าจะเรียนต้องตั้งใจค่ะ เมื่อไม่มีทางเลือกก็เข้าห้องสมุด ซุ่มอ่านหนังสือเตรียมสอบ GMAT จนถึงห้องสมุดปิดตอนเที่ยงคืนอยู่หลายเดือน โรงเรียนสอนเตรียมสอบ GMAT ก็มีค่ะ แต่แพงสู้ราคาไม่ไหว ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือเอง จนกระทั่งได้เข้าเรียนปริญญาโทค่ะ
มีภาคสองต่อค่ะ ชีวิตต้องสู้! เมื่อมาเรียนต่อในอเมริกา ตอนที่2
ในหัวข้อ
เริ่มหางานทำ-แบ่งเบาค่าใช้จ่าย
เรียนในอเมริกาต้องขยันสุดๆ
อาหารการกินในชีวิตวัยเรียน
กฏหมายและระเบียบต่างๆในอเมริกาที่จำเป็นต้องรู้
Author: Supakon, Intercultural Consulting and Services LLC
พี่ครับคือผมกำลังจะไปเรียนต่อที่นั่น ขอคำปรึกษาหน่อยครับ
line = boommys
facebook = boommy s mooth’
รบกวนหน่อยนะค้าบ
ถ้าจะขอคำปรึกษา สามารถตั้งกระทู้ถาม หรือ comment มาได้ค่ะ
เพราะเรื่องราวต่างๆจะได้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆด้วยนะค่ะ
สวัสดีค่ะ
เพิ่งมาอยู่รัฐ PA ประมาณ 6 เดือนแล้ว เรียนจบครูและมีใบประกอบวิชาชีพครูของไทยค่ะ มีประสบการณ์ทำงานเป็น TA ที่โรงเรียนนานาชาติที่กรุงเทพ 8 ปี มีความคิดอยากเรียนต่อโทที่นี่อ่ะคะ ไม่ทราบว่าจะเป็นไปได้ไหม (อยากเรียนแบบออนไลน์นะคะ) พอดีติดที่ว่าไม่ได้อยู่ในตัวเมือง อยู่แถบชานเมืองมากๆๆ คงจะไม่สะดวกที่จะไปโรงเรียนทุกวันค่ะ สนใจเรียนทางด้านจิตวิทยาค่ะ
รบกวนตอบคำถามด้วยนะคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ
หน่อย ^_^
อายุ 35 แล้วค่ะ มีประสบการณ์เป็น sale manager จากบริษัทที่มีชื่อเสียง เพิ่งลาออกจากงาน เพราะเครียด สนใจจะไปเรียนโท ที่อเมริกา เพราะมีญาติอยู่ NJ คงไปขออาศัยพัก ขอปรึกษาค่ะว่า ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง มีเงินสด 2 แสนค่ะ เริ่มต้นชีวิตใหม่ครั้งนี้จะคุ้มมั้ย 55 ตั้งใจจะไปฝึกภาษา และกลับมาทำงานเมืองไทย
ขอแนะนำมหาลัยที่ นิวเจอร์ซี่ ว่าที่ใหนถูกและดี ใช้เวลากี่ปีค่ะ
ไม่ทราบว่าเดินทางไปเมการึยังคะ อยากจะปรึกษาเพราะว่ากำลังคิดจะไปเหมือนกัน (เราทำอาชีพเดียวกันเลยนะ) รบกวน Add line มาได้มั้ยคะ yungyingclub ขอบคุณนะคะ
ล่ามภาษาต่างประเทศที่ต้องการมากสุดในตลาดแรงงานไทย คือ ล่ามภาษาญี่ปุ่น ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ
ในตลาดแรงงานไทย บริษัทต่างชาติครึ่งหนึ่งเป็นพวกบริษัทญี่ปุ่น ไม่อังกฤษอะไรเลย
จงเปิดตาดูโลกใหม่ได้แล้ว คนทำงานเงินเดือนเป็นแสนๆ จบเมืองไทยทั้งนั้น ต้นทุนเรียนในไทยก็ถูกกว่า เรียนเมืองไทยมีโอกาสใกล้ชิดกับแหล่งงานมากกว่า เอาตัวไปอยู่เมืองฝรั่ง ล่ามภาษาญี่ปุ่นเป็นที่ต้องการสูงจริงๆ ส่วนนักแปลภาษาอังกฤษแถมไม่มีใครต้องการเลย
อยู่เมืองเดียวกันเลย minisota